วิธีดูแลแก้ไขชิ้นส่วนพลาสติกรถสีซีด

Last updated: 18 ต.ค. 2566  |  4149 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีดูแลแก้ไขชิ้นส่วนพลาสติกรถสีซีด


ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์สำหรับการดูแลรถยนต์มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างมาก มีการทดลองหรือวิจัยหลากหลายรูปแบบ ทำให้ปัจจุบันมีการออกแบบน้ำยาสำหรับการดูแลรถเฉพาะส่วนมากขึ้นหรือเรียกง่ายๆ ว่ามีน้ำยาใช้เฉพาะทาง 

โดยเปรียบเทียบรถยนต์ก็เหมือนร่างกายของเรา ที่มีการพัฒนาออกแบบการใช้น้ำยาทำความสะอาดเฉพาะส่วนหรือมีครีมบำรุงต่างๆ อย่างเช่นครีมบำผิวหน้า บำรุงดวงตา บำรุงผิว เป็นต้น เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นต่อร่างกายของเราในบริเวณนั้นๆ

ดังนั้นรถยนต์ของเราก็ต้องได้รับการปกป้องที่ดียิ่งขึ้นเช่นกัน เราจึงต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงประเภทการใช้งานและมีการปกป้องเฉพาะชิ้นส่วนที่ทางนักวิจัยพัฒนาออกมา เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นครับ ในบทความนี้ผมจึงรวบรวมวิธีการดูแลและการแก้ไขมาให้ทุกคนกันครับ


เริ่มที่การปกป้อง

อย่างแรกให้เริ่มจากการปกป้องก่อนนะครับ เพราะถือเป็นขั้นตอนสำคัญมากๆ ที่ทุกคนมักละเลยหรือลืมใส่ใจไปบ้าง นั่นคือตอนที่เราซื้อรถหรือรับรถมาใหม่ๆ ทุกครั้งหลังทำความสะอาด(ล้างรถ) เสร็จแล้ว ควรหมั่นลงน้ำยาเคลือบชิ้นส่วนพลาสติกทุกครั้ง (หลายคนมักจะเคลือบสีปกป้องตัวรถเพียงอย่างเดียว) สาเหตุที่เราต้องเคลือบชิ้นส่วนพลาสติกทุกครั้งนั้น เพื่อปกป้องจากอากาศร้อน แสงแดด แสงUV หรือแม้กระทั้งน้ำฝนที่เป็นกรด มูลนก เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้พลาสติกสีซีดเร็วขึ้น

เมื่อเราลงน้ำยาเคลือบพลาสติกไปแล้ว น้ำยาจะทำหน้าที่ซึมลงไปในเนื้อพลาสติกทำให้เนื้อพลาสติกมีความชุ่มชื้น ไม่แห้งกรอบ ทำให้สีของพลาสติกเข้มขึ้น พร้อมกับสร้างชั้นฟิล์มปกป้องบนพื้นผิว ไม่ให้แสงแดดตกกระทบลงบนชั้นพลาสติกโดยตรง 

ซึ่งน้ำยาเคลือบปกป้องพลาสติกในท้องตลาด
มีด้วยกันอยู่ 2 แบบ คือ 

  • แบบแว๊กซ์และแบบเคลือบคล้ายเซรามิก
  • แบบแว๊กซ์เคลือบพลาสติก เคลือบยาง

 

ในส่วนของแว๊กซ์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
  • แว๊กซ์แบบเนื้อครีม 
  • แว๊กซ์แบบสูตรน้ำ
  • แว๊กซ์แบบสูตรเนื้อเจล 

 

ซึ่งแว็กซ์เคลือบชิ้นส่วนพลาสติกในแต่ละแบบนั้น จะให้ผลลัพธ์ออกมาคล้ายๆกัน คือ เพิ่มความเข้มของพลาสติกและบำรุงปกป้องพื้นผิว แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือคุณสมบัติของการบำรุง การปกป้องหลังจากเคลือบไปแล้วและความคงทนต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังแตกต่างในเรื่องของความเงาเข้ม ความด้านอีกด้วย

ส่วนความนิยมนั้น คนดูแลรถส่วนใหญ่มักใช้เป็นแว๊กซ์สูตรเจล (WIBWUB Tire & Trim Gel) เนื่องจากสูตรเจลเป็นสูตรที่ได้รับการพัฒนาจากสูตรเนื้อครีมกับสูตรน้ำ ทำให้การเคลือบแบบเจลตอบโจทย์ต่อการใช้งานและความคงทน เช่น ให้การซึมลึกลงไปในชั้นพลาสติกที่มากกว่า พร้อมคงสภาพความชุ่มชื้นในชั้นพลาสติกได้ยาวนาน ทำให้มีความดำเข้มสวยงาม ไม่มีความเหนียวเยิ้มจนเกินไป สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายแบบ อย่างเช่นคนชอบให้ผิวเคลือบมีสีดำด้าน ไม่เงาจนเกินไป ก็สามารถลงเคลือบสูตรเจลแล้วใช้ผ้าเช็ดเก็บน้ำยาส่วนเกินออกได้ นอกจากนี้ยังให้ความคงทน มีคุณสมบัติกันน้ำเมื่อเจอฝน และทนต่อความร้อนในประเทศไทย 

แบบเคลือบคล้ายเซรามิก

การเคลือบประเภทนี้จะเป็นการเคลือบเฉพาะชิ้นส่วนพลาสติกเท่านั้น ไม่สามารถเคลือบยางได้ แต่การเคลือบลักษณะนี้จะมีความคงทนกว่าแบบแว๊กซ์พอสมควร เพราะมีการใช้เทคโนโลยีคล้ายกับการเคลือบที่สีรถหรือเคลือบแก้ว งานที่ได้หลังจากเคลือบพลาสติกไปแล้ว จะให้ความเงาเข้มดูเหมือนใหม่ มีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 เดือน บางยี่ห้อมีคุณสมบัติกันน้ำได้ด้วย ไม่ต้องคอยลงเคลือบพลาสติกบ่อยๆ แต่ก็แรกมาด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าแบบแว๊กซ์ จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่าไหร่ครับ

ในส่วนนี้ก็จะเป็นขั้นตอนการปกป้องจากปัญหาชิ้นส่วนพลาสติกซีดจางของรถเรา ให้ดูใหม่ตลอดเวลานะครับ สำหรับรถของใครที่ชิ้นส่วนพลาสติกยังไม่ซีด มีสภาพที่ดูดีอยู่นั้น ไม่ควรลืมที่จะเคลือบพลาสติกปกป้องกันไว้ด้วยนะครับ เพื่อความสวยงามของรถเราครับ

การแก้ไขเมื่อชิ้นส่วนพลาสติกมีความซีดจาง

ไม่ดำเข้มเหมือนก่อน


โดยส่วนใหญ่แล้วการแก้ไขพลาสติกซีดจางให้กลับมาดำเข้ม 
มีวิธีการแก้ไขหลักๆ อยู่ 3 แบบครับ 

  • การพ่นสีใหม่  
  • การลงน้ำยาเคลือบเป็นประจำ
  • การเปลี่ยนชิ้นงานใหม่

การพ่นสีใหม่
วิธีนี้จะเป็นการทำสีชิ้นงานนั้น โดยการพ่นสีทับไปใหม่ วิธีนี้ก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดีอย่างหนึ่ง ปัจจุบันก็มีหลากหลายร้านที่รับพ่นสีฟื้นฟูพลาสติก แต่อาจจะต้องเลือกร้านที่มีการการันตีและผลงานที่ได้รับการยอมรับด้วยนะครับ เพราะในการพ่นสีใหม่นั้น ถ้าช่างพ่นสีเก็บงานได้ไม่ดีพออาจจะทำให้สีของพลาสติกชิ้นนั้น มีความผิดเพี้ยนไปจากเดิมหรืออาจเกิดความเสียหายต่อชิ้นงานได้ครับ แต่วิธีนี้เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น พอใช้งานไปสักพักสีของพลาสติกก็กลับมาซีดจางได้อีกในอนาคต เนื่องจากพื้นผิวพลาสติกนั้นเสื่อมสภาพไปแล้วนั่นเอง

การลงน้ำยาเคลือบเป็นประจำ
วิธีนี้ต้องใช้วิธีสังเกตชิ้นส่วนพลาสติกของเราก่อนนะครับ ว่าชิ้นส่วนพลาสติกนั้นมีการเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง มีความซีดจางขนาดไหน วิธีสังเกตคือให้เราลองเอาน้ำยาเคลือบไปทาที่ชิ้นงานนั้นแล้วสังเกตดูว่ามีความเข้มขึ้นหรือไม่และเมื่อทาทิ้งไว้สัก 5 นาทีแล้วไม่การซีดจางเกิดขึ้นซ้ำในชิ้นงานนั้นอีก ก็เปรียบได้ว่าชิ้นงานนั้นยังไม่เสื่อมสภาพครับ เพียงแต่ต้องได้รับการเคลือบบำรุงอยู่เป็นประจำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่พลาสติก

ส่วนรถใครที่ลองทำวิธีข้างต้นไปแล้ว และสีของพลาสติกกลับมาซีดจางอีก อาจเปรียบได้ว่าชิ้นงานพลาสติกนั้นได้เสื่อมสภาพไปแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยน้ำยาเคลือบพลาสติก

การเปลี่ยนชิ้นงานใหม่
วิธีนี้ถือเป็นขั้นตอนที่เจ็บแต่จบครับ ในเมื่อชิ้นส่วนพลาสติกของเราเสื่อมสภาพไปแล้ว ลองแก้ไขมาหลายวิธีก็ไม่ได้ผล จะปล่อยไว้แบบนั้นก็ทำให้รถเราดูไม่สวยงาม วิธีนี้ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นใหม่ครับ ดีกว่าปล่อยให้รถเราไม่สวยอยู่แบบนั้นจริงไหมครับ

สุดท้ายก็หวังว่าในบทความนี้จะช่วยให้ใครหลายๆคนที่กำลังเจอปัญหารถมีชิ้นส่วนพลาสติกสีซีดจาง ไม่ดำเข้มเหมือนก่อน นำไปปรับใช้หรือลองแก้ไขกันดูนะครับ เพื่อให้รถของเราดูใหม่อยู่เสมอ ยิ่งเราใช้เดินทางอยู่เป็นประจำ ยิ่งควรดูแลรถของเราให้ดีเป็นพิเศษ เพื่อให้เค้าอยู่กับเราไปนานๆนะครับ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้าครับ 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้